สถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย
(+66 2) 234-98-24
(+66 2) 268-11-69
/

คณะกรรมการเอสแคป

1. คณะกรรมการด้านพลังงาน

  • เพื่อช่วยเหลือการพัฒนากลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาด้านพลังงานระหว่างประเทศการส่งเสริมด้านการหารือในนโยบายและปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก
  • เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานในระดับภูมิภาคและเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน รวมถึงการให้บริการด้านพลังงาน การประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน มีการวิเคราะห์ข้อมูลและกลยุทธ์ต่างๆ ทั้งนี้ยังมีการดำเนินงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการประยุกต์ใช้วิธีที่ดีที่สุด
  • การกำหนดทางเลือกด้านนโยบายระหว่างรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านพลังงานในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างกลไกในการสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและการบูรณาการ
  • มีการระดมความคิดในการประชุมด้านพลังงานเอเชียแปซิฟิก และกฎระเบียบและข้อตกลงอื่นๆในภูมิภาค รวมถึงกำหนดวาระการประชุมครั้งใหม่ในช่วงหลังจากปี 2015 นี้ โดยมีการสนับสนุนโดยคณะกรรมการในการพัฒนาความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
  • นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์และการหารือด้านนโยบายและความรู้พื้นฐานเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงด้านราคา ความน่าเชื่อถือ มีความยั่งยืนและมีแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับพวกเรา รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน การประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานเชื้อเพลิงอีกด้วย อีกทั้งยังมีการระบุทางเลือกและกลยุทธ์เพื่อดึงดูดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและการใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานอีกด้วย


2. คณะกรรมการด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การต่อสู้กับปัญหาความยากจนและการพัฒนาทางการเงิน

  • มีความพยายามในการพัฒนาเพื่อความสำเร็จของเศรษฐกิจมหภาค เกี่ยวกับทิศทางในการลดระดับความยากจนและความไม่เสมอภาค เพื่อความสำเร็จของการาพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน
  • กลยุทธ์และทางเลือกสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
  • การจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนา รวมไปถึงการเพิ่มงบประมาณการคลังภายใน
  • การมีส่วนร่วมของสถาบันการเงินในระดับภูมิภาคและกลไกของกองทุน
  • มีความพยายามในการพัฒนาเงื่อนไขและการปฎิบัติการเพื่อการป้องกันตลาดทุนในภูมิภาค
  • นโยบายการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจได้มีการพิจารณาบนความยากจนของประชาชน โดยเฉพาะในประเทศที่มีความต้องการเป็นพิเศษ
  • กลยุทธ์ทางเลือกและโครงการลดระดับความยากจนในชนบท รวมไปถึงนโยบายของโครงการที่สำคัญขึ้นอยู่กับการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน


3. คณะกรรมการด้านการค้าและการลงทุน

  • กลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับข้อตกลงว่าด้วยเรื่องการค้าและการลงทุนรวมทั้งข้อตกลงการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • กลยุทธ์ทางเลือกในการติดต่อการค้าและกิจกรรมการลงทุนของวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง
  • กลยุทธ์ทางเลือกในโครงการลดความซับซ้อนในการดำเนินการค้า


4. คณะกรรมการด้านการขนส่ง

  • กลยุทธ์ทางเลือกและโปรแกรมในด้านการขนส่ง รวมทั้งวาระการประชุมที่เกิดขึ้นใหม่สำหรับการพัฒนาในช่วงเวลาหลังจากปี 2015 และข้อตกลงในระดับภูมิภาค และเอกสาร
  •  ทางหลวงสายเอเชียและเครือข่ายทางรถไฟทรานส์เอเชีย รวมถึงความคิดริเริ่มอื่นๆ เช่น การขนส่งทางทะเลระหว่างเกาะและการขนส่งทางทะเล ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาระบบการวางแผนของคณะกรรมการ และการจัดหาเงินทุนของการขนส่งแบบบูรณาการ และระบบโลจิสติก
  • มาตรการเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน รวมถึงประสิทธิภาพของการขนส่งและโลจิสติก
  • ความช่วยเหลือด้านการลงนามข้อตกลงการขนส่งระหว่างประเทศ และการดำเนินงานของคณะกรรมการ
  • ข้อตกลงมาตรฐานการขนส่งและเอกสาร
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการขนส่งใหม่รวมทั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ
  • การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดหาเงินทุนและการดำเนินงานของโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งผ่านความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน


5. คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา

  • นโยบายและกลยุทธ์โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการลดผลกระทบและการปรับให้เข้ากับภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
  • นโยบายและกลยุทธ์สำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
  • นโยบายและกลยุทธ์ในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและครอบคลุม


6. คณะกรรมการด้านสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนวัตกรรม

  • การพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแผนและโครงการพัฒนาข้อมูลและนโยบายเทคโนโลยีการสื่อสาร
  • การถ่ายโอนและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค
  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรวมถึงเทคโนโลยีสำหรับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
  • การพัฒนาความสามารถของมนุษย์และสถาบันในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเช่นเดียวกับความสำเร็จของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  • วิธีการทางเลือกและกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความร่วมมือในการให้บริการการเข้าถึงความสำเร็จและการส่งเสริมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมถึงกลไกในระดับภูมิภาคสำหรับการถ่ายโอนเทคโนโลยี
  • เน้นที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนโยบาย กลยุทธ์ และนโยบายแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม


7. คณะกรรมด้านการเกี่ยวกับการลดภัยพิบัติ

  • วิธีการทางเลือกและกลยุทธ์สำหรับการลดความเสี่ยงและลดผลกระทบประเภทต่างๆของภัยพิบัติ
  • กลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคสำหรับการลดความเสี่ยงจากพื้นที่ภัยพิบัติ และระบบการสนับสนุนทางเทคนิคอื่น ๆ
  • การประเมินความน่าจะเป็นของชนิดของภัยพิบัติ, การเตรียมความพร้อม การเตือนภัยล่วงหน้าและการตอบสนองต่อการคุกคามของภัยธรรมชาติ


8. คณะกรรมการด้านการพัฒนาสังคม

  • ตรวจสอบการดำเนินงานในเป้าหมายทางภูมิภาคระหว่างประเทศและภาระหน้าที่ในการพัฒนาสังคม
  • การประเมินผลแนวโน้มของประชากรและการพัฒนา รวมถึงการย้ายถิ่นระหว่างประเทศและผลกระทบของการพัฒนาที่เกิดขึ้น
  • การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมและการส่งเสริมการรวมกันทางสังคมของคนหนุ่มสาว,ผู้พิการ, ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
  • การส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิง
  • การเสริมสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมและการดูแลสุขภาพ


9. คณะกรรมการด้านสถิต

  • สร้างความมั่นใจได้ว่าในปี 2020 ทุกๆ ประเทศที่ก่อตั้งขึ้นในภูมิภาคนี้ จะเป็นกำลังการผลิตรรายหลักทางด้านเศรษฐกิจ,สถิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การก่อตั้งขึ้นของสำนักงานสถิติแห่งชาตินั้น เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น และการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพสำหรับความร่วมมืออันใกล้ชิดนี้

 

ข้อตกลงของคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้แทนถาวรเอสแคป (ESCAP) 

โดยคณะกรรมการที่ปรึกษามีการดำเนินงานดังต่อไปนี้

  • เสริมสร้างร่วมมืออย่างใกล้ชิดและให้คำปรึกษาระหว่างประเทศสมาชิกและสำนักเลขาธิการรวมทั้งการให้คำปรึกษาและแนวทางสำหรับการดำเนินงานจะต้องได้รับการพิจารณาโดยเลขาธิการบริหารในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ทำหน้าที่เป็นเวทีให้คำปรึกษาสำหรับการแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นที่สำคัญและให้คำแนะนำเกี่ยวกับวาระการพัฒนาของคณะกรรมการเช่นเดียวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • การให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่เลขาธิการผู้บริหารในการจัดทำข้อเสนอสำหรับกรอบยุทธศาสตร์ แผนการทำงาน และ หัวข้อหลักของการประชุมตามแนวทางของมัน
  • โดยทั่วไปบนข้อมูลพื้นฐานในการทำงานการบริหารและการเงินของคณะกรรมการ
  • การให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่เลขาธิการผู้บริหารสำหรับการตรวจสอบและประเมินผลของการแผนการทำงานของคณะกรรมาธิการและการจัดสรรทรัพยากร
  • การพิจารณาถึงการร่างปฏิทินกิจกรรม ก่อนจะยื่นต่อคณะกรรมการในการประชุมประจำปี
  • การให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่เลขาธิการผู้บริหารเกี่ยวกับวาระการประชุมชั่วคราว สำหรับการประชุมของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการมุ่งเน้นผลลัพธ์และวาระการประชุมที่มุ่งเน้นตอบสนองต่อการจัดลำดับความสำคัญของประเทศสมาชิก ซึ่งพวกเขากำหนดขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเขา เช่นเดียวกับบทบัญญัติในหมวดที่สองของกฎการปฏิบัติ
  • การให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่เลขาธิการผู้บริหารในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ทางเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาสังคมและปัญหาอื่นๆ สำหรับการรวมตัวเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมชั่วคราวของการประชุมของคณะกรรมการ เช่นเดียวกับการพัฒนาของบันทึกวาระการประชุมชั่วคราว
  • การรับข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักเลขาธิการและองค์กรระหว่างประเทศในภูมิภาคอื่นๆ และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานของความร่วมมือในระยะยาวและการเริ่มต้นร่วมกัน รวมทั้งผู้ที่ถูกเสนอโดยเลขาธิการผู้บริหารและดำเนินการภายใต้การอุปถัมภ์ของกลไกการประสานงานในระดับภูมิภาค
  • การดำเนินงานอื่นๆอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ